เพลี้ยแป้ง ตัวเล็กแต่ไม่ควรมองข้าม!!!

 

รามารู้จักเพลี้ยกันค่ะ เพลี๊ยมีหลายชนิด แต่วันนี้เราเริ่มกันที่

      “เพลี้ยแป้ง เป็นแมลงที่อยู่ในตระกูลเดียวกับ #เพลี๊ยหอย มี 2 ชนิด แป้งหางสั้น แป้งหางยาว ที่มีขนาดเล็กมาก ลักษณะจะกลมอ้วน และสั้น จะมีลักษณะพิเศษ คือ จะสีขาวๆคุลมรอบๆลำตัว ปากเป็นแบบดูดกิน พวกมันมักจะอาศัยอยู่ในดิน และชอบอาศัยอยู่กันเป็นกลุ่ม จะเข้าทำลายพืชได้หลากหลายชนิด เช่น มันสัมปะหลัง พริก เป็นต้น 

     การเข้าทำลายของ #เพลี๊ยแป้ง โดยการดูดน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆของพืช ยอด ใบ ตา และลำต้น และราก(ในมันสำปะหลัง) และทำให้พืชหยุดการเจริญเติบโด ทำให้ใบ #เพลี๊ย เป็นศัตรูพืชตัวฉลาก ที่สามารถสร้างความเสียหายให้กับพืชผลได้อย่างที่เราคาดไม่ถึงเลย

     การระบาด มักจะเกิดในช่วงที่แล้ง หรือ ช่วงที่ฝนทิ้งห่างนาน เพราะ ช่วงที่แล้ง ความต้องการน้ำของพืชถูกจำกัดลง ใบที่สร้างขึ้นในช่วงแล้ง ใบมีกระบวนการเมตาโบลิซึมสูง ทำให้ใบมีคุณค่าทางอาหารสูง ซึ่งเหมาะกับการเจริญเติมโตของเพลี๊ยแป้ง 

     เพลี๊ยแป้งสามารถระบาดโดยการติดไปกับคน ท่อนพันธุ์ กระแสลม และมดเป็นพาหนะนำตัวเพลี๊ยแป้งไปเลี้ยงเพื่อรอดูดกินมูลหวาน

เพลี๊ยแป้งมีหลายชนิด ยกตัวอย่าง เช่น

  1. เพลี๊ยแป้งมะเขือ :  ดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่ใต้ใบกิ่งมะเขือ
  2. เพลียแป้งจุดดำ  :  จะพบในใบมะเขือ ถั่ว งา ส้ม มันสัมปะหลัง ยาสูบ ฝ้าย หม่อน พริกไทย และลีลาวดี เป็นต้น
  3. เพลียแป้งสัปปะรด : พบบ่อยในกล้วย สัปปะรด อ้อย กาแฟ ข้าวโพด มะละกอ เป็นต้น
  4. เพลี๊ยแป้งน้อยหน่า. : ดูดกินน้ำเลี้ยงจากผลน้อยหน่า มังคุด ฝรั่ง และกาแฟ เป็นต้น
  5. เพลี้ยแป้งกาแฟ : พบในพืชหลายชนิด ส้ม ฝรั่ง มะม่วง โกโก้ ทับทิม และพริกไทย เป็นต้น

     ยังมีเพลี้ยแป้งอีกลหายชนิด ที่พบได้เกือบทุกพืช เพราะ ฉนั้นการป้องกันไม่ให้เกิดเลยเป็นเรื่องที่ยาก แต่เราใช้แนวป้องกันได้ โดยการบำรุงพืชให้แข็งแรงจะได้ทนต่อโรค และแมลงได้มากขึ้น

“ฟื้นฟูดิน ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ต้องปุ๋ยกรดซิลิคอน”

      คุณภาพเท่านั้น ที่อยู่กับเกษตรกร

 

*** ปรึกษาปัญหาด้านการเกษตร ตรวจดิน พร้อมวางแผนการใช้ปุ๋ย ฟรี!!!  โดยนักวิชาการด้านเกษตร

 

ติดต่อเรา : Line : @fooktiengroup

 

แหล่งที่มา : 

  • Diseases and Pets of economic importance book Encyclopedia of life
  • Researchgate.net
  • Hort.extension.wisc.edu